วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สวัสดีค่ะ

ทักทายค่ะ


            สวัสดีค่ะท่านผู้ชมทุกท่านที่ได้เข้ามาชมเว็บบล็อกนี้เว็บบล็อกนี้ถูกสร้างขึ้นโดยนางสาวพัชรี ภูจันมา  เว็บบล็อกนี้ได้สร้างขึ้นเพื่อ สำหรับการเรียนรู้ และการเรียนการสอนของวิชา นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา

            สอนโดย อาจารย์ วิวรรธน์ จันทร์เทพย์ และใช้สำหรับเป็นแนวทางในการประกอบการเรียนการสอนของรุ่นต่อๆไป
            หวังว่าท่านผู้ชมจะสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดงานประกอบการเรียนการสอนในรายวิชาอื่นต่อไป หากมีข้อผิดพลาดก็ต้องขออภัยด้วยค่ะ

ขอขอบคุณสำหรับท่านผู้ชมทุกท่านค่ะ
วิชา นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา PC54505 3(2-2-5)
(Innovation, Technology and Information in Education)

  
อาจารย์ผู้สอน ผศ.ดร.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
ภาคเรียนที่ 1 / 2556

คำอธิบายรายวิชา
          ศึกษาแนวคิด  ทฤษฎี  นวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา  ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้  การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศ  แหล่งเรียนรู้  การสร้าง  การออกแบบ   การนำไปใช้  การประเมินผล  การปรับปรุงนวัตกรรม  สามารถเลือกใช้  ออกแบบ  สร้าง  ปรับปรุงนวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระดับการศึกษา  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี สามารถแสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย  และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน

วัตถุประสงค์
     เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหากิจกรรมในบทเรียนแล้วจะมีความสามารถหรือพฤติกรรมอังนี้ 
           1. อธิบายความหมาย ความสำคัญ หลักการ  และแนวคิดนวัตกรรม  เทคโนโลยีและ 
               สารสนเทศทางการศึกษาได้ 
           2. อธิบายบทบาท คุณค่า  ประเภท  และประโยชน์ของนวัตกรรม  เทคโนโลยีและ                                สารสนเทศการศึกษาได้
           3. อธิบายความสัมพันธ์ของนวัตกรรม  เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษาได้ 
           4. บอกขั้นตอนของการเกิดนวัตกรรม และเปรียบเทียบความแตกต่างกับเทคโนโลยี                              ได้ อย่างชัดเจน 
           5. บอกความหมาย ขั้นตอนและกระบวนการของการเรียนรู้  การรับรู้ตามธรรมชาติของผู้   
               เรียนแต่ละวัยได้
          6. วิเคราะห์สาเหตุในการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ในการปัญหาทางการ
              ศึกษาได้ 
          7. ยกตัวอย่างนวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศทางการศึกษาในยุคปัจจุบันได้
          8. ออกแบบและสร้างสรรค์นวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศทางการศึกษาได้
          9. ปรับปรุงและเลือกใช้นวัตกรรม  เทคโนโลยี  และนวัตกรรมทางการศึกษากับการเรียนการ
              สอน ได้
        10. ประเมินผลนวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศทางการศึกษาได้
        11. ระบุและเสนอแนะแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศทางการ
              ศึกษาได้
       12. ออกแบบการเรียนการสอนในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้

เนื้อหาบทเรียน
            หน่วยการเรียนที่  1  แนวคิด  ทฤษฎี  ความหมายความสำคัญของนวัตกรรม 
                                              เทคโนโลยีและสารสนเทศการศึกษา
            หน่วยการเรียนที่  2  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
            หน่วยการเรียนที่  สื่อการเรียนการสอน
            หน่วยการเรียนที่  วิธีระบบ
            หน่วยการเรียนที่  5  จิตวิทยาการเรียนการสอน
            หน่วยการเรียนที่  6  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
            หน่วยการเรียนที่  7  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
            หน่วยการเรียนที่  หนังสืออีเล็กทรอนิกส์(e-Book)
            หน่วยการเรียนที่  สื่อมัลติมีเดีย (Multi-Media)
            หน่วยการเรียนที่  10  การเรียนการสอนแบบผสมผสาน

กิจกรรมการเรียนการสอน
           1. รูปแบบการสอนเป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน(blended learning)ระหว่าง การเรียนการสอนในห้องเรียนปกติ(Face-to-Face  or  Traditional  Classroom) กับ การเรียนการสอนบนออนไลน์โดยใช้เว็บบล็อก (Online Learning with Weblog)โดยใช้อัตราส่วน 39% - 79%
           2. เทคนิควิธีสอน
1.1    การบรรยายประกอบสื่อการเรียนการสอน
1.2    การมอบหมายงาน  การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
1.3    การทำงานเป็นกลุ่มด้วยการแสดงความคิดเห็น  
-                การซักถาม
-                การอภิปราย
-                การทำแบบฝึกหัด
-                การแสดงผลงาน

การบูรณาการกับความพอเพียง
            ความมีเหตุผล
            ความพอประมาณ
            ภูมิคุ้มกันในตนเองที่ดี
-      เงื่อนไขความรู้  :   รอบรู้    รอบคอบ   ระมัดระวัง
-      เงื่อนไขคุณธรรม  :  ซื่อสัตย์   แบ่งปัน

คุณลักษณะที่พึงประสงค์
        ผู้เรียนที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชานี้จะต้องเป็นผู้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์สำคัญได้แก่  ความซื่อสัตย์  โดยแสดงออกอย่างบูรณาการอย่างสัมพันธ์กับพฤติกรรมต่างๆไปพร้อมๆกับกิจกรรมการเรียนการสอนทุกขั้นตอน  เช่น 
 -  ความรับผิชอบและตรงต่อเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน
 -  มีความรักความสามัคคีในกลุ่มผู้เรียนร่วมวิชาเอกเดียวกันและวิชาเอกอื่นๆ
 -  ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์
 -  ใฝ่ดี  ใฝ่รู้  สู้งาน
 -  มีความคิดสร้างสรรค์
 -  มีระเบียบวินัยในการแต่งกาย
 -  สุภาพ  เสรีภาพ  อ่อนน้อม  และให้เกียรติผู้อื่น

แหล่งเรียนรู้
1.            ห้องสมุด
2.            อินเตอร์เน็ต
3.            เอกสารป
4.            ตัวอย่างเว็บบล็อก
5.            สื่อของจริง  ของตัวอย่าง
6.            ชุมชนท้องถิ่น
    
การบูรณาการกับความพอเพียง


     3  ห่วง คือทางสายกลาง ประกอบไปด้วย ดังนี้
          ห่วงที่ 1 ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกิน โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
          ห่วงที่ 2 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมี เหตุผล โดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
         ห่วงที่ 3 การมีภูมิคุ้มกันทีดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของถสานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล


     2  เงื่อนไข ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่
             เงื่อนไขที่ 1 งื่อนไขความรู้ คือ มีความรอบรู้เกี่ยวกับ วิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ คุณธรรมประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
           เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม คือ มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

       นั่นคือสรุปรวบยอดของ เศรษฐกิจพอเพียง สรุปได้เป็น 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ดังที่ได้กล่าวมา หลายๆคนอ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ แล้วคงกระจ่างกันสักที เกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียงแบบ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น











           เศรษฐกิจพอเพียง คือ พระราชปรัชญาซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เพื่อให้สังคมไทยมีชีวิตดำรงอยู่ได้ อย่างมั่นคงและยั่งยืน ไม่ว่าเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ หรือ การเปลี่ยนแปลงใด ๆ บนพื้นฐานวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทยนำมาประยุกต์ใช้ "ความพอเพียง" หมายถึง ความพอประมาณอย่างมีเหตุผล โดยสร้างภูมิ คุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร เพื่อที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วกว้างขวางทั้งทางด้านวัตถุสังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี โดยอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และความระมัดระวังในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ วางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ควบคู่ไปกับการสร้างพื้นฐานจิตใจของคนใน ชาติทุกระดับ ให้สำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร ความมีสติปัญญา และความรอบคอบ มีเหตุผล
           โดยที่ความพอประมาณนั้น หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มาก เกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอ ประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของพอเพียงนั้น จะ ต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดและผลที่จะ เกิดขึ้นอย่างรอบคอบ


          เมื่อมีการกล่าวถึง เศรษฐกิจพอเพียง ในฐานะแนวความคิดหรือปรัชญา ในการดำรงชีวิต "ทฤษฎีใหม่" ก็มักจะได้รับการกล่าวอ้างถึงควบคู่กันเสมอในฐานะตัวอย่างหรือแนวทางในการนำ หลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติเพราะทฤษฎีใหม่ คือการเลี้ยงตัวเองได้ในระดับชีวิตที่ประหยัด มีการผลิตที่พึ่งตนเองได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ค่อยเป็นค่อยไปตามกำลัง ให้พอมีพอกินไม่อดอยาก มีการผลิต ข้าวบริโภคพอเพียงประจำปี 
           หลักการของ เกษตรทฤษฎีใหม่ คือ การทำไร่นาสวนผสมและการเกษตรผสมผสาน มีการ ปลูกพืชผักสวนครัว การทำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกและใช้วัสดุเหลือใช้มาเป็นปัจจัยการผลิตปุ๋ย เพื่อลดค่า ใช้จ่าย และบำรุงดิน เช่น การเพาะเห็ดฟางจากวัสดุเหลือใช้ในไร่นา การปลูกไม้ผลสวนหลังบ้าน และไม้ใช้สอยในครัวเรือน การปลูกพืชสมุนไพร ช่วยส่งเสริมสุขภาพอนามัย การเลี้ยงปลาในร่อง สวน ในนาข้าวและแหล่งน้ำ เพื่อเป็นอาหารโปรตีนและรายได้เสริม การเลี้ยงไก่พื้นเมือง และไก่ไข่ ประมาณ ๑๐-๑๕ ตัว ต่อครัวเรือน เพื่อเป็นอาหารในครัวเรือน โดยใช้เศษอาหาร รำ และปลายข้าว จากผลผลิตการทำนา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากการปลูกพืชไร่ และการทำก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ ที่เลี้ยงไว้ รวมทั้งการ
ประกอบอาชีพเสริม เช่น การจักสาน ถัก ทอ แปรรูปอาหาร เป็นต้น

                                 การบูรณาการกับความซื่อสัตย์

ความซื่อสัตย์

           ในสังคมวันนี้ ความซื่อสัตย์ได้กลับกลายเป็นเรื่องเล็กน้อยเมื่อคนส่วนใหญ่ละเลย ด้วยจิตสำนึกผิดชอบที่คิดว่าเป็นเรื่องที่สามารถปฏิบัติได้โดยง่าย แต่ในความจริงแล้วความซื่อสัตย์เป็นเรื่องท้าทายใจอยู่ทุกขณะจิต เราต้องตัดสินใจที่ตอบรับหรือปฏิเสธว่าเราจะยังเดินอยู่ในกรอบแห่งความถูกต้องหรือไม่ ความซื่อสัตย์ที่แท้จริงยังเป็นเรื่องทีต้องวัดได้ในขณะที่ยังไม่มีใครควบคุม ไม่มีใครรู้ไม่มีใครเห็น ไม่มีใครมาคอยบังคับอีกด้วย

           ความซื่อสัตย์เป็นสิ่งที่มาจากใจจริง ความซื่อสัตย์ในสังคมจัดเป็นปัญหาระดับชาติที่เริ่มตั้งแต่ตัวบุคคล สังคม และประเทศชาติ ภัยร้ายของความไม่ซื่อสัตย์ในสังคมมีมูลเหตุจากค่านิยมในการวัดความสำเร็จจากความมั่นคั่งแห่งอำนาจเงินและวัตถุ ก่อให้เกิดพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในลักษณะกอบโกย ฉ้อฉล คดโกง ใช้อิทธิพลขู่บังคับแลกกับความมั่งคั่งให้มากและรวดเร็วที่สุด

           การดำเนินชีวิตที่ไม่ซื่อสัตย์ จะกลายเป็นความน่าเศร้าในระยะต่อไป บุคคลเหล่านี้อาจจะไม่รู้ว่าตนเองได้ยึดความล้มเหลวที่ถูกปิดซ่อนมองไม่เห็นไว้ด้วยความหลงผิด เพราะแท้จริงแล้วมันคือ ความล้มเหลวที่เปรียบเสมือนระเบิดเวลาแห่งความหวาดกลัวที่เกรงว่าคนจะจับได้ เป็นเหมือนหนามเล็กๆที่คอยทิ่มแทงใจ

           การตั้งมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์เป็นเรื่องของความจำเป็น : ไม่มีใครปรารถนาอยู่ในสังคมที่ปราศจากความซื่อสัตย์เพราะจะต้องอยู่อย่างหวาดระแวงและไม่มีความสุข เราต่างก็ปรารถนาความจริงใจจากกันและกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นความซื่อสัตย์จากครอบครัว ชุมชน หรือสังคม  หากเราเป็นผู้หนึ่งที่มีความมุ่งหมายในเป้าชีวิตสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน เราต้องปฏิเสธการดำเนินชีวิตที่เห็นเพียงแต่ผลประโยชน์ระยะสั้นเฉกเช่นเดียวกับคนที่ดำเนินชีวิตคดโกงอื่นๆ ที่มีอยู่ในสังคม เราจำเป็นต้องยึดมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์ และพัฒนาจิตสำนึกภายในให้มั่นคงโดยยึดหลักแห่งการตัดสินใจที่ละเลือกความซื่อสัตย์อย่างแท้จริง

           สาเหตุของความไม่ซื่อสัตย์ประเภทหนึ่ง คือ ความหลงอำนาจ เมื่อมีอำนาจเพิ่มมากขึ้น คนเราก็มักจะมีแนวโน้มที่จะใช้อำนาจในทางที่ผิดมากขึ้นด้วย คือ เมื่อมีอำนาจก็หลงตน คิดว่าประสบความสำเร็จและสามารถจะทำอะไรก็ได้ รากแห่งความไม่ซื่อสัตย์ในชีวิตอาจทำให้ผู้มีอำนาจหลงไปโดยการใช้อำนาจในทางที่ผิดได้ บางคนอาจถูกล่อลวงด้วยเงินทอง เกียรติยศ ชื่อเสียง จนกระทั่งปฏิเสธความซื่อสัตย์ที่มีอยู่ในชีวิตอย่างสิ้นเชิง

           ตระหนักว่าความซื่อสัตย์เป็นบ่อเกิดแห่งความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ : เราควรยึดถือคติพจน์ไทยโบราณที่ค่อนข้างถูกปฏิเสธแล้วในสังคมปัจจุบันว่า "ซื่อกินไม่หมด คิดกินไม่นาน" คนทั่วไปอาจทึ่งในความสามารถ แต่เราควรให้คนประทับใจในลักษณะชีวิตความซื่อสัตย์ของเราด้วยในเส้นทางชีวิตที่ยาวไกล

           ความซื่อสัตย์ต้องเริ่มตั้งแต่เรื่องเล็กน้อย : ความซื่อสัตย์ต้องเริ่มตั้งแต่เรื่องเล็กๆ หากเราไม่ซื่อสัตย์ในเรื่องเล็กน้อย เรื่องใหญ่เราก็จะไม่ซื่อสัตย์ด้วย ไม่ว่าจะกระทำการใดเราควรได้กระทำด้วยความรับผิดชอบตามกฎระเบียบ หากทำผิดก็ต้องรับผิด อย่าพลิกแพลงหรือแก้ตัว การแก้ตัวนั้นถือได้ว่า เป็นการไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง ถึงแม้อาจจะฟังดีมีเหตุผล แต่ไม่มีประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและกลับยิ่งเป็นการลดคุณค่าตัวเองมากยิ่งขึ้น หากเราทำดีมาร้อยครั้งแต่เมื่อเราทำผิดและแก้ตัว บุคคลอื่นก็จะเริ่มสงสัยไม่ไว้วางใจเรา เริ่มไม่อยากมอบหมายความรับผิดชอบให้กับเรา ดังนั้น เราจึงควรยอมรับความจริงได้แม้เราผิดพลาดไป และดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจว่าความซื่อสัตย์ที่เราพากเพียรทำไว้นั้นจะสามารถปกป้องเราไว้ได้อย่างแน่นอน

           ความซื่อสัตย์สามารถพัฒนาได้ : ความซื่อสัตย์เป็นเรื่องที่พัฒนาได้และเราควรมีแรงบันดาลใจอยากเป็นคนซื่อสัตย์ได้โดยตั้งคำถามว่า "เราอยากประสบความสำเร็จในระยะยาวหรือระยะสั้น" ความสำเร็จอย่างยั่งยืนริเริ่ความตั้งใจจริงที่จะเอาชนะความฉ้อฉลที่พร้อมจะเกิดขึ้นในจิตใจของเรา



            ทุกคนสามารถได้รับความสำเร็จที่ยั่งยืนในชีวิตจากความซื่อสัตย์นี้ได้ หากดำเนินชีวิตด้วยความระมัดระวังพัฒนาและฝึกตนเอง เริ่มตั้งแต่ความคิด การกระทำและในทุกๆ การตัดสินใจต้องตั้งใจว่า จะไม่กระทำสิ่งใดเพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนเองต้องการ แต่จะใช้มาตรฐานความซื่อสัตย์เป็นตัววัดจิตใจเพื่อเราจะทำทุกสิ่งได้ถูกต้อง การเช่นนี้จะส่งเสริมให้เราถูกต้องเสมอต้นเสมอปลาย การเช่นนี้จะส่งเสริมให้เราเป็นบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ร่วมงาน เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ อันจะส่งผลให้ชีวิตเรามีศักดิ์ศรีและได้รับการยกชูในทางที่ดีขึ้น ความซื่อสัตย์ของเราวันนี้คือดัชนีชี้วัดความสำเร็จที่ยั่งยืนในวันข้างหน้าของเราอย่างแท้จริง